ปั้มลมขนาดใหญ่ เลือกยังไงให้ใช้งานได้ดีทีสุด
ปั้มลมขนาดใหญ่ หรือ (Air Compressor pump) เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะการทำงานคือการอัดเอาอากาศเข้าไปในถังเก็บเพื่อทำการถ่ายเทของเหลวหรืออากาศจากที่หนึ่งส่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยแหล่งจ่ายพลังงานจากน้ำมัน หรือ ไฟฟ้า อัดเอาอากาศเข้ามาเก็บไว้ในถังเก็บเมื่อทำการปล่อยอากาศออกไปแล้วก็จะทำให้เกิดแรงดันภายในขึ้น โดยการใช้งานสามารถใช้งานได้หลากหลายหน้าที่ จะเป็นภายในบ้าน โรงงาน การใช้งานในรถยนต์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น สว่าน ปืนฉีดลม ปืนพ่นสี เครื่องดูดฝุ่นฯ เป็นต้น
ในส่วนของโรงงานหรือภาคอุตสาหกรรม ยังมรการใช้งาน ปั้มลมขนาดใหญ่ หรือขนาดต่าง ๆ ในงานหลายอย่างเช่น งานเจาะ ตอกตะปู งานเจียร งานพ่นสี งานพ่นทราย เป็นต้น นอกจากนี้ยังเห็นการใช้งานในโรงไฟฟ้า โรงกรองน้ำ อุตสาหกรรมการผลิต โรงสี และทางชลประทาน โดยเครื่อง ปั้มลมถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือปั้มลมแบบลูกสูบสายพาน กลไกหลักในการทำงานคือใช้สายพานเป็นตัวขับเคลื่อน
- ปั้มลมโรตารี่ ใช้ลูกสูบเป็นกลไกลในการทำงาน
- ปั้มลมแบบสกรู ใช้เพลาสกรูสองส่วนคือ ตัวผู้และตัวเมืยอาศัยการหมุนเข้าหากัน เพื่อทำการดูดเอาอากาศผ่านเกลียวของสกรู
- ปั้มลมแบบออยฟรี (Oil free) ปั้มลมที่ไม่ต้องเติมสารหล่อลื่นทำงานได้เงียบกว่าแบบอื่น ๆ
ขนาดต่าง ๆ ของปั้มลม
การเลือกขนาดของปั้มลมนั้นไม่ว่าจะเลือกขนาดถังลมที่มีความจุมากแค่ไหนก็ต้องคำนึงถึงอัตราการปล่อยลมที่เครื่องทำได้ด้วย และต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ท่านต้องการนำไปใช้งานด้วย เพราะถ้าหากเลือกไปใช้งานได้แบบไม่ตรงกับเป้าหมายแล้ว ก็อาจจะทำให้การใช้งานปั้มลมทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นคุณควรคำนึงถึงพื้นฐานการทำงานของปั้มลมแต่ละชนิดก่อนจะเลือกซื้อเอาไปใช้งานด้วยเพื่อที่จะได้ตรงวัตถุประสงค์และเป็นการดีต่องานที่คุณจะดำเนินงาน
- ปั้มลมขนาดเล็ก หรือขนาดที่มีถังเก็บลมอยู่ที่ไม่เกิน 100 ลิตร ประมาณ 30-100 ลิตร มีขนาดเล็กกะทัดรัดสามารถเคลื่อนย้ายไปในการทำงานได้สะดวกรวดเร็วโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอัตราการไหลปล่อยลมอยู่ที่ 200 ลิตร/นาที มีหลายประเภท เช่นปั้มลูกสูบ ปั้มลมลูกสูบ ปั้มโรตารี่ เหมาะกับงานภายในบ้าน หรืองานเล็ก ๆ เพราะความจุน้อยใช้งานได้จำกัด แต่ก็มีข้อดีคือสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายเพราะน้ำหนักเบา ถังลมขนาดนี้ มักจะเป็นหัวปั้มลมโรตารี่ขนาดประมาณ 1.5-2 แรงม้า โดยที่นิยมใช้กันจะอยู่ที่ 50 ลิตร
- ประเภทงานที่เหมาะสม
-
-
-
- เติมลมล้อรถจักรยาน, รถจักรยานยนต์, เติมลมรถยนต์ที่ไม่ได้บรรทุกของหนักอยู่
- งานช่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นยิงตะปูลม
- งานทำความสะอาด การเป่าทำความสะอาดต่าง ๆ
- งานพ่นสี ชิ้นงานขนาดเล็ก
-
-
- ปั้มลมขนาดกลาง ขนาดปั้มลมตั้งแต่ 100 ลิตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน 300 ลิตร มีขนาดใหญ่การเคลื่อนย้ายทำได้ยากเพราะมีน้ำหนัก เกิน 50 กิโลกรัม เป็นปั้มลมระดับกลางที่เหมาะสำหรับมืออาชีพเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล๊ก สามารถรับแรงดันได้สูง มีความสามารถผลิตลมได้เยอะและทำได้อย่างต่อเนื่องจึงสามารถใช้ได้ในงานอุตสาหกรรมหลายประเภท ที่ใช้แรงดันได้เยอะและคงที่ อย่างเช่น
- ประเภทงานที่เหมาะสม
-
-
-
- งานอู่ซ่อมรถยนต์ รถบรรทุกที่ใช้งานบล๊อกลมขนาด ¾ -1 นิ้ว
- ใช้สำหรับเครื่องจักรขนาดเล็กและขนาดกลาง
- งานคาร์แคร์ขนาดกลาง
- ขับเคลื่อนเครื่องจักรต่าง ๆ
- งานพ่นทรายขนาดไม่ใหญ่มาก
-
-
- ปั้มลมขนาดใหญ่ เป็นปั้มลมขนาดใหญ่สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องใช้ลมในปริมาณที่มาก ที่สามารถจุลมได้มากกว่า 300 ลิตรขึ้นไป เป็นปั้มลมที่เหมาะกับการใช้งานหนัก ๆ สามารถใช้ปริมาณลมที่มากและสามารถทำได้ต่อเนื่อง มีแรงดันที่เอยะ จึงเหมาะกับงานอุตสาหกรรมใหญ่ทุกประเภท มีหัวลมขนาด 10 แรงม้าขึ้นไป และสามารถของรับแรงดันได้ตั้งแต่ 10 บาร์หรือมากกว่า แรงดันลมที่ผลิตออกมาได้ 7 บาร์ได้มากกว่า 450-900 ลิตร/นาที
- ประเภทงานที่เหมาะสม
-
-
- สามารถใช้งานได้ในอุสาหกรรมขนาดใหญ่
- ศูนย์บริการรถยนต์และรถบรรทุก สามารถรองรับการทำงานได้หลายคัน
- อู่ซ่อมรถ อู่ทำสีสามารถทำได้ครบวงจร
- สามารถใช้กับเครื่องจักรขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้
- งานพ่นทรายขนาดกลาง-ขนาดใหญ่
- ร้านคาร์แคร์ที่มีขนาดใหญ่รองรับได้หลายบริการ
-
หลักการเลือกซื้อ ปั้มลมขนาดใหญ่ ประเภทต่าง ๆ
- ควรเลือกดูอัตรากำลังของตัวคอมเพรสเซอร์สำหรับขนาดการใช้งานหรือ แรงม้าของเครื่อง ตั้งแต่ 1-40 แรงม้าขนาดแรงดัน ที่เหมาะกับแรงดันของงานที่ต้องการ
- CFM ปริมาตรที่เครื่องสามารถให้ได้โดยมีหน่วยเป็น ลูกบาสก์ฟุต/นาที
- ประเภทของคอมเพรสเซอร์ ว่าเป็นแบบไหน
- ผู้ผลิต ดูว่าผู้ผลิตมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
- ราคา ประเมินช่วงราคาว่าอยู่ในช่วงที่คุ้มค่า
- การรับประกัน ดูว่าตัวเครื่องมีการรับประกันเท่าไหร่
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วหวังว่าคุณจะได้เข้าใจในเรื่องปั้มลมและการทำงานของแต่ละประเภทเครื่องปั้มที่คุณต้องการนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยและคุณลักษณะงานที่คุณจะต้องนำไปใช้ และความถี่ของการใช้งานการเลือกขนาดหรือประเภทของคอมเพรสเซอร์ เพราะถ้าหากว่าคุณเลือกใช้ปั๊มลมที่มีขนาดเล็กเกินไปอาจจะทำให้แรงดันลมตกได้ ทำให้งานที่ทำอยู่เกิดการล่าช้าได้ หรือถ้าคุณเลือกขนาดที่ใหญ่เกินไปสำหรับงานของคุณก็อาจจะทำให้กลไกหรือชิ้นงานเกิดความเสียหาย การเลือกปั๊มลมต้องคำนึงถึงลักษณะงานที่จะใช้ว่าความดันหรือแรงดันพอหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับงานและสถานที่การทำงานของผู้ใช้งานด้วย
ดังนั้นผู้ใช้งานพึงทรายไว้ด้วยว่าโรงงานหรือสถานประกอบการของท่านนั้นจจำเป็นต้องใช้ปั๊มลมประเภทไหนจึงจะเหมาะสมกับประเภทงานที่กำลังดำเนินงานอยู่ โดยในปัจจุบันปั้มลมที่ตลาดนิยมใช้กันมากก็คือ ปั้มลมแบบลูกสูบ แบบสกรู และแบบกังหัน ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของท่านควรศึกษารูปแบบการทำงานของปั้มแต่ละชนิดและควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการใช้งานและบำรุงรักษาด้วย
บทความอื่น ๆ : ปั๊มลม JET JTO-250 ลมรั่วโซลินอยด์ วาว์ล แก้ไขได้ง่ายในเวลาไม่กี่นาที