Smile
"ถ้าไม่คิดจะเริ่ม ก็เหมือนเดิมทั้งชีวิต" "ไม่มีอะไรยากกว่าความสามารถ ถ้าไม่คิดที่จะเรียนรู้"
กาพ่นสีที่ใช้ในการพ่นสีรถยนต์ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เป็นแบบมีลมผสม โดยอาศัยหลักการอัดตัวของอากาศให้ทางเดินผ่านรูลมของกาพ่นสี ทำให้เกิดสูญญากาศขึ้นที่หัวจ่ายสีจึงทำให้สีถูกดูดลงหรือดูดขึ้นและถูกกำลังดันลมตีให้เกิดเป็นฝอยละอองบางๆ เกาะติดบนผิวของชิ้นงาน เทคนิคการใช้กาพ่นสีในการพ่นซ่อมสีรถยนต์มีวิธีการดังนี้
เพื่อให้การพ่นสีมีประสิทธิภาพโดยที่ผู้ปฏิบัติงานไม่มีความรู้สึกเมื่อยล้า การจับกาพ่นสีจะต้องผ่อนคลายอิริยาบถโดยให้ไหล่และข้อศอกต้องตึงนิ้วหัวแม่มือและนิ้วก้อยจับประคองตัวปืน ส่วนนิ้วกลางและนิ้วนางกดไกปืน
การเดินแนวของกาพ่นสีมีองค์ประกอบสำคัญในการปฏิบัติเพื่อให้สีมีผลงานที่ออกมาได้คุณภาพที่ดีมี 4 วิธีคือ
ระยะห่างระหว่างกาพ่นสีกับผิวชิ้นงาน ถ้ากาพ่นสีมีระยะห่างที่ใกล้กับผิวของชิ้นงานมากสีที่พ่นออกมายังผิวงานจะมีความหนาของสีมากทำให้เกิดการไหลของตัวเนื้อสีในทางตรงกันข้าม ถ้าระยะห่างของกาพ่นสีอยู่ห่างจากผิวของชิ้นงานมากเกินไปปริมาณสีที่พ่นออกมาจะบาง และกระจายเป็นพื้นที่กว้างผิวสีบนชิ้นงานจะดูหยาบไม่เรียบอย่างไรก็ตาม ระยะห่างระหว่างกาพ่นสีกับผิวชิ้นงานที่เหมาะสมควรมีระยะห่างกัน ประมาณ 100 – 200 มิลลิเมตร และควรปฏิบัติในทำนองเดียวกันโดยให้ระยะห่างเท่าๆ กันตลอดระยะเวลาในการพ่นสีเพื่อให้สีผิวหน้างานดูเรียบและสม่ำเสมอ
มุมของกาพ่นสีมีส่วนสำคัญเช่นกัน การถือกาพ่นสีจะต้องถือให้เป็นมุมตั้งฉาก (90 องศา) กับผิวงาน ทั้งในขณะพ่นในระดับแนวขนาน แนวตั้งและแนวนอน แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามที่กล่าว จะทำให้สีที่จับบนผิวชิ้นงาน เมื่อพ่นเสร็จอาจมองดูไม่เรียบเช่นเดียวกับตำแหน่งการยืนจะต้องรักษาให้ปืนอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากและขนานกับผิวชิ้นงาน เนื่องจากการเดินแนวของกาพ่นสีจะต้องใช้ไหล่เป็นจุดหมุน ดังนั้นท่ายืนที่ดีและเหมาะสมจะต้องให้โหล่ของมือ ที่จับกาพ่นสีอยู่บริเวณกึ่งกลางด้านหน้าของชิ้นงานที่จะพ่น และแยกปลายเท้าออกจากกัน โดยให้ กว้างกว่าตำแหน่งของไหล่เล็กน้อย และใช้เข่าโยกไปตามจังหวะของการพ่นแทนการใช้แขนเดิน แนวพ่นสีแต่เพียงอย่างเดียว
เป็นความเร็วในการเดินกาพ่นสี ซึ่งโดยทั่วไปการเดินกาพ่นสีจะอยู่ระหว่าง 90 – 120 เซนติเมตร/วินาที ดังนั้นถ้าเดินกาพ่นสีให้ช้า ชั้นของสีจะหนา และสีอาจไหลย้อยได้ แต่ถ้าเดินกาพ่นสีเร็วเกินไปจะทำให้ชั้นสีบางแต่ทั้งนี้เมื่อต้องการ ให้ชิ้นงานมีความสวยงาม จึงควรปฏิบัติตามเทคนิคในการใช้กาพ่นสีให้ถูกวิธีแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการจ่ายสี ระยะห่าง และความเร็วของกาพ่นสี
ปริมาณสีที่จ่าย | ระยะกาพ่นสี | ความเร็วในการพ่นสี |
มาก | ไกล | ธรรมดา |
น้อย | ไกล | ช้า |
มาก | ใกล้ | เร็ว |
น้อย | ใกล้ | ธรรมดา |
จะต้องกดไกปืน พ่นสีให้สีออกจากกาพ่นสีเป็นละอองสีกระจายลงจับเกาะบริเวณขอบด้านบนและด้านล่างของชิ้นงาน ซึ่งจะมีปริมาณที่น้อยกว่าบริเวณตรงกลางของแถบสี จากสาเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องพ่นสีให้กระจายตัว มีความหนาที่เท่ากันทั้งชิ้นงานตามต้องการ ดังนั้นระยะการพ่นสีให้สีที่เหลื่อมทับกัน หรือโอเวอร์แล็ป (Over Lap) คือประมาณ 1/2 หรือ 50 เปอร์เซ็นต์ กับ 2/3 ของความกว้างของความกว้างของแถบสี อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือ ต้องรักษาทิศทางในการพ่นสีให้ได้ระดับที่เที่ยงตรง บริเวณ ส่วนที่เหลื่อมทับกันจะต้องได้ระดับสม่ำเสมอ นอกจากนี้ตำแหน่งของการยืนในขณะพ่นสีลงด้านล่างจะต้องค่อยๆ ย่อตัวลง เพื่อให้กาพ่นสีตั้งฉากกับผิวของชิ้นงาน
ภายหลังจากใช้งานกาพ่นสีแล้ว จำเป็นจะต้องทำความสะอาดทุกครั้ง เพื่อไม่ให้สีแห้งและ แข็งตัวเกิดการอุดตันขึ้นภายในหัวจ่ายและท่อทางเดินของกาพ่นสี ซึ่งจะมีผลทำให้ไม่สามารถใช้ เป็นพ่นสีได้อีก หรือถ้าทำความสะอาดที่ผิดวิธีก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานของกาพ่นสีต่ำหรือทำให้รั่วออกได้ ดังนั้นเพื่อให้การทำความสะอาดกาพ่นสีปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี จึงควรปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ขั้นตอนต่อไปนี้
TOOLTALKING คือพื้นที่ในการให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆรวมไปถึงการ แก้ปัญหา การซ่อมแซม และ การรีวิวเครื่องมืออย่างตรงไปตรงมา เราคิดว่าการทำความเข้าใจเครื่องมือให้ถูกต้องก่อนการใช้งานจะนำประโยชน์มาให้กับทุกคน และเรายังเชื่อด้วยว่าเครื่องมือคือกระจกสะท้อนความก้าวหน้าของมนุษย์ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์จากพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ที่เป็นพื้นที่สาธารณะที่สร้างไว้สำหรับทุกคน สุดท้ายหวังว่าทุกคนจะรักเครื่องมือเหมือนกับที่เรารัก ขอบคุณครับ "sirotmusic"