Smile
"ถ้าไม่คิดจะเริ่ม ก็เหมือนเดิมทั้งชีวิต" "ไม่มีอะไรยากกว่าความสามารถ ถ้าไม่คิดที่จะเรียนรู้"
ประกอบงานไม้ จนถึงทาสีไม้ เป็นส่วนที่ต้องมีความชำนาญและความรู้ ในส่วนของการประกอบไม้และการเตรียมไม้สำหรับทาสี และขั้นตอนสุดท้ายคือ ทาสี ช่วงหรือคนที่ทำงานในส่วนนี้จำเป็นต้องมีความชำนาญและความเข้าใจของประเภทไม้และลายไม้ พอสมควร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้จึงมีความสำคัญ ช่วยให้ผู้ทำงาน ทำงานได้ประสิทธิภาพและความแม่นยำของการทำงาน
วิธีการง่าย ๆ ที่จะยึดไม้เข้าด้วยกันคือใช้ตะปูหรือตะปูเกลียวยึด งานประดิษฐในเล่มนี้นิยมใช้ตะปูเกลียวเป็นหลักค้อนชนิดต่าง ๆ
ในบรรดาค้อนต่าง ๆ ที่กล่าวมา ค้อนตอกตะปูเป็นค้อนที่ใช้มากที่สุดใน ถ้าพิจารณาค้อนตอกตะปูให้ดีจะเห็นข้อแตกต่างของปลายค้อนคือ ปลายหัวค้อนด้านหนึ่งจะแบน อีกด้านหนึ่งจะโค้งมน เราใช้ด้านแบนเคาะตะปูให้เข้าที่ก่อนใช้อีกด้านตอกเข้า ช่วยให้ตอก ตะปูได้ง่าย ไม่เกิดรอยขีดข่วน หลักพื้นฐานโดยทั่วไปให้จับค้อน จากด้านสันไม้บริเวณกึ่งกลางด้ามให้ กระชับเพื่อไม่ให้น้ำหนักลงที่ปลายหัวค้อน มากเกินไป ถ้าจับแน่นจะทําให้น้ำหนักที่ หัวค้อนน้อยลง และตอกโดยใช้ข้อมือบังคับ ค้อนยังแบ่งตามน้ําหนักออกเป็น 3 ชนิด งานไม้ในเล่มนี้นิยมใช้หัวค้อนขนาดปานกลาง หนักประมาณ 250-350 กรัม
งานไม้มีขั้นตอนใช้ตะปูเกลียวยึดอยู่ บ่อยครั้ง แต่ถ้าเป็นขั้นตอนการประกอบจะ ใช้ตะปูแทน เนื่องจากซ่อนหัวตะปูได้ง่าย กว่าตะปูเกลียว จึงควรรู้เทคนิคการใช้ตะปู ไว้ด้วย ก่อนอื่นควรเตรียมตะปูให้มีความยาว 2.5-3.5 เท่าของความหนาชิ้นงาน เพราะถ้าใช้ขนาดสั้นกว่านี้ เมื่อตอกลงไปแล้วอาจ ยึดงานได้ไม่คงทน แต่ถ้าใช้ตะปูยาวเกินไป ก็อาจทําให้เนื้อไม้แตกได้ ควรตอกตะปู 2 ตัวเป็นมุมเฉียงเข้า หากันเพื่อเพิ่มแรงยึด แต่การตอกในแนว เฉียงนี้ค่อนข้างยาก จึงอาจยังไม่จําเป็น สําหรับมือใหม่ ถ้าต้องการเสริมความ แข็งแรง อาจใช้กาวทาไม้ทาเสริมก่อน การตอกตะปูกับไม้เนื้อแข็งหรือใกล้ ปลายไม้ (สันไม้) ควรเจาะรูนําก่อนตอก เพื่อป้องกันไม้แตกหรือตะปูงอระหว่างตอก และการตอกให้ได้ตรงและแม่นยํานั้นควร กําหนดตําแหน่งและเจาะรูนําที่ชิ้นงานก่อน ทุกครั้ง
สลักเกลียวและนอตใช้เพื่อยึดตรึง ส่วนที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษแทนการใช้ตะปูเกลียว เช่น การยึดไม้ 2X4 หรือยึดโต๊ะที่ต้องการรีบน้ำหนักมากรวมไปถึงการประกอบชิ้นงานขนาดใหญ่ ข้อดีของการใช้สลักเกลียวและนอตยึดชิ้นงานขนาดใหญ่ก็คือ เราจะแยกชิ้นงานออกจากกันได้ เช่น โต๊ะที่รื้อพับเก็บได้ ถ้าเรารู้สึกว่าหัวของสลักเกลียวที่ โผล่ขึ้นมาบนชิ้นงานดูไม่เรียบร้อย อาจเจาะรูสําหรับเก็บหัว เช่น การใช้สลักเกลียวและนอตให้เป็นร่องเก็บในการยึดแท่งไม้กลมที่ ใช้ทําส่วนฝาปิด การประกอบเก้าอี้สนามก็มีส่วนที่ ใช้สลักเกลียวและนอตยึดประกอบ ถ้าเรา กลัวว่าจะเป็นสนิมก็อาจเลือกใช้ชนิดที่เป็น สเตนเลส และควรใช้แหวนรองร่วมกับ สลักเกลียวและนอตทุกครั้ง
ใช้เมื่อต้องการติดไม้กับไม้ หรือไม้ กับกระดาษเข้าด้วยกัน ยึดได้แน่นระดับหนึ่ง ไม่ทําให้เลื่อยหรือใบเลื่อยเป็นรอยถ้าเราทากาวก่อนใช้ตะปูหรือตะปู เกลียวตอกยึดระหว่างชิ้นงาน จะช่วยให้ เกิดแรงยึดทั่วผิว แต่กาวทาไม้ไม่ทนน้ำจึง ไม่ควรใช้กับชิ้นงานที่อยู่กลางแจ้ง
เทคนิคการใช้กาว การใช้กาวจําพวกกาวทาไม้นั้นช่วย ให้ยึดหน้าสัมผัสให้ติดกันแน่นขึ้น แต่ขณะที่กาวทาไม้ยังไม่แห้งจะมีกําลังการยึดติดน้อย จึงไม่ควรเลื่อนชิ้นงานจนกว่ากาวจะ แห้งสนิท และระวังอย่าทากาวให้ล้นออก มาเพราะจะทําให้ส่วนนั้นทาสีไม่ติด ควร ปาดกาวที่ล้นออกมาทุกครั้ง จะทําให้ชิ้นงานยึดติดกันสวยงาม
งานขัดแต่งเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะงานประกอบการที่ต้องการความละเอียด และรวมถึงงานเตรียมพื้นผิวให้สวยงามก่อนทําสีด้วย ปัจจุบันกระดาษทรายได้พัฒนา ไปอีกขั้น เรียกว่า เดรสเซอร์ (dresser) หรือ แฮนด์แซนเดอร์ (hand sander) ทํา จากพลาสติก ถอดเปลี่ยนแผ่นขัดได้ ขนาด เหมาะมือ คงทนต่อการฉีกขาดมากกว่า กระดาษทราย มีราคาลดหลั่นไปตาม คุณภาพ แต่ใช้งานได้หลากหลาย
นอกจากกบไสไม้และกระดาษทราย แล้วยังมีตะไบชนิดโลหะ ผู้อ่านอาจไม่ได้ใช้ อุปกรณ์ทั้งหมดนี้กับงานไม้ เว้นแต่มีงานที่ ต้องใช้สว่านเจาะรูและต้องการขัดแต่งขยาย รู จึงอาจเตรียมไว้ใช้สักเล่ม อุปกรณ์ตัดแต่งที่ช่างไม้มืออาชีพ นิยมใช้มากที่สุดคือ สิ่ว ใช้สกัดเจาะไม้เป็น ร่องแคบๆ หรือเจาะช่องเดือยสําหรับงาน ประกอบ เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ เรามักใช้สิวในลักษณะใกล้เคียงกับ กบไสไม้ จึงจําเป็นต้องเรียนรู้วิธีใช้ไว้ สิว เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอํานวยความสะดวกได้มาก มีอยู่หลายชนิด ควรเลือกชนิดที่ขอบ เป็นมุมฉากจะใช้งานง่ายและหลากหลาย กว่า ปากสิวมีความหนาตั้งแต่ 6-40 มม. เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ควรจัดหาไว้
ผิวของกระดาษทรายเคลือบด้วยผงโลหะเพื่อขัดผิวของชิ้นงาน นอกจาก กระดาษทรายธรรมดาแล้ว ยังมีชนิดที่ทำเป็นแท่งจับหรือชนิดซิลิคอนคาร์ไบต์ จําหน่ายอีกด้วย ชนิดของกระดาษทรายแบ่งตาม ความละเอียด เมื่อจับด้านหนึ่งของผิว กระดาษจะรู้สึกว่าผิวสากๆ ซึ่งจะกําหนดไว้ เป็นหมายเลขแสดงความละเอียดตั้งแต่ น้อยไปมากตามลําดับ สําหรับงานไม้ ความละเอียดของ กระดาษทรายจะกําหนดไว้เป็นมาตรฐาน ตามลําดับ กระดาษทรายหยาบตั้งแต่เบอร์ 40-60 ระดับปานกลางอยู่ที่เบอร์ 100150 และละเอียดตั้งแต่เบอร์ 180-300 สําหรับการจัดแต่งชิ้นงานที่เตรียมผิวไว้บ้าง แล้วให้เริ่มจากเบอร์ 200 เมื่อจะขัดชิ้นงานที่มีผิวหน้ากว้าง ให้ใช้กระดาษทรายห่อท่อนไม้ที่เรียกว่า ไม้รองขัด ใช้ขัดแต่งผิวได้ทั่วแผ่น ส่วนการ ขัดผิวในส่วนโค้งเว้าให้ใช้กระดาษทรายพัน แท่งไม้กลม จะขัดได้ง่ายขึ้น
ส่วนผิวขัดของเดรสเซอร์จะมีเกล็ด หยาบน้อยกว่ากระดาษทราย และมีด้ามจับ ที่ใช้งานสะดวก จึงใช้ขัดแต่งพื้นผิวงานได้ มีประสิทธิภาพกว่า แผ่นขัดมีความหยาบ หลายระดับเช่นเดียวกับกระดาษทรายและ ถอดเปลี่ยนได้ ตะไบงานไม้ชนิดโลหะใช้ขัดลบไม่ได้ ง่ายและเร็วกว่าเดรสเซอร์และกระดาษทราย แต่ผิวขัดไม่เรียบนัก มักใช้ขัดแต่งตามซอก มุม ส่วนโค้งเว้า หรือตามขอบรู ตะไบที่ใช้กับงานไม้มีหลายชนิด ได้แก่ ตะไบแบน ตะไบท้องปลิง ตะไบกลม แต่ที่นิยมใช้มีอยู่เพียง 2 ชนิด คือ ตะไบ ท้องปลิงและตะไบกลม ถ้ามีตะไบท้องปลิง ด้านหนึ่งและเป็นตะไบแบนอีกด้านหนึ่งก็จะ สะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีตะไบทรงกลม ลักษณะเป็นเกลียวด้วย แต่ด้วยข้อจํากัด ของคมขัดที่หยาบจึงเหมาะสําหรับขัดแต่ง ตามร่อง รูมากที่สุด
งานไม้ประณีตเมื่อทาสีแล้วจะสวยเด่นขึ้น ทั่งยังช่วยไม่ให้ชิ้นงานสกปรกง่ายและเพิ่มความคงทนได้อีกด้วย
นอกจากเพื่อให้ได้สีที่ถูกใจแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น ทาสีเพื่อเพิ่มความคงทนให้กับงานไม้ หรือทาสีเคลือบผิวไม้เพื่อกันคราบสกปรกหรือรอยขีดข่วน สียังทําหน้าที่ป้องกันเนื้อไม้จาก ความชื้นและความร้อนจากแสงแดดด้วย รวมไปถึงช่วยกันแมลงและมอดจากส่วน ผสมของออยล์สเตน (oil stain) ในเนื้อสี สําหรับชิ้นงานที่ใช้กลางแจ้ง เช่น โต๊ะหรือ เก้าอี้ ก็ยังเลือกใช้สีที่มีคุณสมบัติเหมาะกับ การใช้งานภายนอก เช่น สีชนิดกันน้ำ สีที่ใช้กับงานไม้มีส่วนประกอบบาง ชนิดที่ช่วยขับลายไม้ให้ดูเด่นขึ้น เช่น การ แสน้ํามันเคลือบเงาทาไม้ ไม้อัด หรือไม้สน เป็นต้น
แปรงพื้นราบ เป็นแปรงที่ใช้สําหรับทาสี พื้นที่กว้างแนวราบ ใช้ได้ทั้งกับสีน้ำและ สีน้ำมัน แบ่งชนิดตามขนาดความกว้างของแปรง มือใหม่ควรเลือกใช้ขนาดความกว้าง ประมาณ 50 มม. เป็นอุปกรณ์ที่ควรมีไว้
ก่อนเริ่มทาสี ควรเตรียมภาชนะ ต่างๆ สําหรับแบ่งผสมสีไว้ก่อน การใช้สี สเปรย์ ถ้าไม่เขย่ากระป๋องก่อนใช้ เมื่อพ่นสี ออกมา อาจทําให้สีด่างหรือสีเพี้ยน ถ้าสีข้นเกินไปต้องผสมให้เจือจาง ถ้าเลือกใช้สีประเภทใช้น้ํายาเจือจางก็จะ สะดวกขึ้น แต่ถ้าสีเจือจางเกินไปก็อาจ ไหลเยิ้ม ต้องใช้แปรงคอยปาดเช็ดออก จึง ควรให้ความสําคัญกับการใช้น้ำยาผสมสีให้ เข้มข้นพอเหมาะ เมื่อใช้สีเสร็จทุกครั้งควรปิดฝา กระป๋องหรือถังสีให้สนิทเพื่อไม่ให้สีระเหย จนแห้ง และควรเก็บไม่ให้โดนแสงแดด ถังสีโดยทั่วไปจะมีปริมาณบรรจุเท่า กัน การใช้สีควรแบ่งออกมาใช้ และถ้าแบ่ง ออกมามากเกินไปอาจทําให้สีเหลือและ แห้งแข็งได้ จึงควรตรวจสอบปริมาณการใช้ ก่อนแบ่งทุกครั้งเพื่อไม่ให้เสียเปล่า
ควรเตรียมสภาพพื้นผิวให้เรียบ ก่อนทาสี เพราะเมื่อประกอบชิ้นงานเข้ารูป แล้วอาจรู้สึกอยากทาสีตกแต่งทันที แต่ ไม่ควรลืมขั้นตอนเตรียมสภาพพื้นผิวนี้เพราะ เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่สําคัญ
เมื่อประกอบชิ้นงานเสร็จ ตัวชิ้นงาน มักมีคราบสกปรก ฝุ่นผงจากการประกอบ เกาะอยู่ จึงควรเช็ดทําความสะอาดให้ทั่ว แม้แต่การทาน้ํามันเคลือบเงาไม้ ถ้าทาทั้งๆ ที่ผิวไม้ยังมีคราบสกปรกก็เท่ากับเคลือบ คราบสกปรกนั้นติดชิ้นงานไปด้วย
การใช้กระดาษทรายขัดเตรียมผิว ควรใช้ชนิดหยาบปานกลางประมาณเบอร์ 240-320 หลังจากขัดด้วยกระดาษทราย ควรใช้ผ้าเปียกเช็ดผงขัดที่ติดอยู่ออก แล้ว รอจนพื้นผิวแห้งจึงตรวจหาคราบกาวที่เยิ้ม แห้งติดชิ้นงาน อาจใช้คัตเตอร์ช่วยพูดออก ส่วนบริเวณที่ไม่ต้องการทาสีให้ใช้เทปกาว ปิดกันไว้
เมื่อใช้แปรงใหม่ ให้ปัดขนแปรงที่หลุดออกมาให้หมด ถ้าไม่ปัดออก เมื่อใช้ เทาสีอาจมีขนแปรงติดไปกับชิ้นงาน เป็น ข้อควรระวังข้อหนึ่งในการทาสี
การจุ่มสี ไม่ควรพุ่มแปรงทั้งอันลงไป ควรจ่มให้ลึกประมาณ 2 ใน 3 ของความ ยาวขนแปรง และปาดสีส่วนที่เกินออก แปรงที่ใช้เสร็จแล้วให้แช่ทินเนอร์หรือ น้ำมันสนเพื่อล้างสีออก สลัดให้แห้งและควรหาที่แขวนเก็บเพื่อไม่ให้ขนแปรงเสียรูป และช่วยยืดอายุการใช้งาน
สีสเปรย์ช่วยทุ่นแรงในการทาสี ตามหลักการเมื่อจะพ่นสีควรเว้นระยะพ่น ให้ห่างจากชิ้นงานประมาณ 20-30 ซม. แล้วพ่นบางๆ หลายๆ รอบ จะช่วยไม่ให้สี ไหลเยิ้ม
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชิ้นงานเงางาม และช่วยขับตาไม้และลายไม้ให้เด่นชัดขึ้น การใช้แปรงทานั้นควรทาไปในทิศทางเดียว จนสุด ไม่หยุดเป็นช่วงๆ จึงจะได้สีที่สวยงาม เห็นลายไม้เด่นชัด และถ้าคิดว่าเคลือบบาง ไปก็ทาทับอีกได้ การทาน้ำมันเคลือบเงายิ่งหนา เท่าไรก็ยิ่งเป็นเงามากขึ้น จึงควรทาอย่าง น้อย 2 ครั้งแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง จากนั้นให้ใช้ กระดาษทรายประมาณเบอร์ 320 ขัดเบาๆ อีกที่ จึงค่อยทาสีทับ ช่วยแต่งให้ผิวเรียบ เนียนเป็นเงางามยิ่งขึ้น
เรามักใช้สีน้ำมันเคลือบเงาเคลือบ ผิวด้านล่างก่อน จากนั้นก็ทาสีสเตนทับและ ใช้ผ้าแห้งขัดเงา ทําให้ลายไม้สวยเด่นเป็น เงางาม การใช้ออยล์สเตนก็เป็นการเคลือบ แต่งผิวสําเร็จรูปอีกวิธีหนึ่ง ตามด้วยใช้ กระดาษทรายละเอียดขัดแต่งและทาน้ํามัน เคลือบเงาอีกชั้น ชิ้นงานก็จะเงางามขึ้น เช่นกัน
TOOLTALKING คือพื้นที่ในการให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆรวมไปถึงการ แก้ปัญหา การซ่อมแซม และ การรีวิวเครื่องมืออย่างตรงไปตรงมา เราคิดว่าการทำความเข้าใจเครื่องมือให้ถูกต้องก่อนการใช้งานจะนำประโยชน์มาให้กับทุกคน และเรายังเชื่อด้วยว่าเครื่องมือคือกระจกสะท้อนความก้าวหน้าของมนุษย์ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์จากพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ที่เป็นพื้นที่สาธารณะที่สร้างไว้สำหรับทุกคน สุดท้ายหวังว่าทุกคนจะรักเครื่องมือเหมือนกับที่เรารัก ขอบคุณครับ "sirotmusic"