ตู้เชื่อม THUNDER INVERTER TD-ARC140 “เชื่อม” ยังไง
การเชื่อม คือ การทำให้ชิ้นงานสองชิ้นติดกัน บางครั้งอาจจะใช้ลวดเติม (หรือธูปเชื่อม) เพื่อใช้ในการต่อเชื่อมก็ได้
เครื่องเชื่อมหรือตู้เชื่อม จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรงให้กับช่างเชื่อมในการเชื่อมโลหะ หรือเหล็ก ซึ่งเป็นการหลอมละลายโลหะเข้าด้วยกัน โดยพยายามไม่ให้อากาศออกซิเจนเข้าไปผสมในบริเวณบ่อหลอมละลาย เพื่อป้องกันการเกิดสนิม
ตู้เชื่อมหรือเครื่องเชื่อม มี 4 ประเภท
1.ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG
2.ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ หรือเครื่องเชื่อมไฟฟ้า (ARC/MMA)
3.เครื่องเชื่อม CO2 หรือตู้เชื่อม MIG
4.เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) หรือเครื่องตัด CUT
ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ หรือตู้เชื่อมไฟฟ้า (ARC/MMA) เหมาะสำหรับช่างมือใหม่ที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมงานเหล็ก และสแตนเลส เนื่องจากมีขนาดพกพาง่าย มีราคาถูก เป็นตู้เชื่อมที่เชื่อมเหล็กด้วยธูปเชื่อม ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์บางรุ่นอาจเชื่อมอลูมิเนียมได้ ถ้าเป็นเครื่องที่มีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป การเชื่อมไฟฟ้าควรเลือกใช้ลวดเชื่อม และปรับกระแสเชื่อมให้เหมาะสมกับงานเชื่อมแต่ละชนิด ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์เป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมากกว่าตู้เชื่อมระบบหม้อแปลงไฟฟ้า ที่มีน้ำหนักมาก และเคลื่อนย้ายลำบาก
ข้อดี : เชื่อมได้เร็ว เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก ราคาประหยัด ไม่ต้องใช้แก๊ส
ข้อเสีย : ความร้อนและสะเก็ดไฟหรือประกายไฟที่เกิดจากการเชื่อม มีควันมาก ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ ไม่เหมาะกับการเชื่อมชิ้นงานบางๆ
วันนี้จึงอยากจะแนะนำ เครื่องเชื่อม THUNDER INVERTER TD-ARC140 เป็นแบรนด์จีน มีราคาถูก ประมาณ 2,200 – 2,500 บาท น้ำหนักเบา ประมาณ 3 กิโลกรัม พกพาง่าย สะดวกต่อการใช้งาน และสามารถทำงานอย่างได้ต่อเนื่อง โดยการเปลี่ยนธูปเชื่อมได้ยาวๆ เครื่องจะทำการตัดกระแสไฟเอง เพื่อทำการพักเครื่อง แล้วจะกลับมาใช้งานเองใหม่ประมาณ 1 นาที
อุปกรณ์เชื่อม…ที่มาพร้อมกับ ตู้เชื่อม
ตู้เชื่อม THUNDER INVERTER TD-ARC140 มีกระแสไฟเชื่อมสูงสุดที่ 140A (แต่ส่วนใหญ่กระแสไฟจะมาไม่ถึง หรือไม่ก็กระแสไฟมาเต็มตอนเปิดเชื่อมช่วงแรก) ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา พกพาง่าย มีสายสะพายข้างสามารถขึ้นเชื่อมบนที่สูงได้
สเปคเครื่องจากผู้ผลิต ตู้เชื่อม
แรงดันไฟ | 220 V / 1 phas |
ความถี่ไฟฟ้าเข้า | 50/60 HZ |
กำลังไฟเข้า | 26 A |
แรงดันไฟขณะไร้ภาระ | 75 V |
กระแสไฟเชื่อม | 20-140 A |
แรงดันไฟในการเชื่อม | 25.6 V |
ความสามารถในการทำงาน | 60 |
ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า | 0.7 |
ระดับความแป้นฉนวน | F |
ระดับการป้องกันสิ่งแปลกปลอม | IP21S |
น้ำหนัก | 3 Kg. |
- ตัวเครื่องมีไฟแจ้งเตือนการทำงานของเครื่อง และ อุณหภูมิของเครื่อง เมื่อเกิดความร้อนมากเกินไป
- ตัวปรับกระแสไฟสูงสุดของเครื่อง 140A เมื่อแรงดันไฟทำงานตามค่าที่กำหนด จะทำให้ค่าของกระแสไฟเชื่อมไม่ตรงกัน เมื่อแรงดันไฟต่ำกว่าค่าสูงสุดของกระแสเชื่อมอาจจะมีค่าต่ำลงกว่าเดิม (จะสังเกตได้ยาก เพราะไม่มีมอนิเตอร์แสดงตัวเลขกระแสไฟ)
**เสียบสายเชื่อมเข้ากับขั้ว + และหมุนตามเข็มนาฬิกาจนแน่น
**เสียบสายดินเข้ากับขั้ว – และหมุนตามเข็มนาฬิกาจนแน่น (หรือง่ายๆ ต่อขั้วตามสี) (อาจจะเกิดอันตราย ไฟดูดบ้าง หากไม่ใส่ถุงมือ เนื่องจากใช้ไฟกระแสตรง)
**ด้านหลังเครื่อง มีสวิตช์เปิด-ปิด และมีพัดลมระบายความร้อน ขณะเครื่องกำลังใช้งาน เพื่อช่วยให้อุณหภูมิเย็นลง (ควรที่จะพยายามไม่ให้มีสิ่งอุดตันหรือปิดกั้นจนไม่สามารถระบายความร้อนได้)
**หัวจับลวดเชื่อมและสายเชื่อม สายมีความยาวประมาณ 3 เมตร และ คีมจับสายดิน หรือเรียกว่า “สายกราวด์” หากใช้สายที่ยาวเกินไป แรงดันไฟฟ้าที่ถูกส่งมาก็จะลดลง
**หน้ากากเชื่อม ใช้มองแนวเชื่อมในขณะกำลังเชื่อมงาน และใช้ในการป้องกันดวงตาให้ปลอดภัยจากแสง ควัน และความร้อนจากการเชื่อม (ที่แถมให้ในกล่องไม่ค่อยมีความแข็งแรง และต้องใส่แว่นตานิรภัยป้องกันอีกที แนะนำให้ซื้อเป็นหน้ากากอัตโนมัติ ลักษณะคล้ายหมวกกันน็อค แต่มีความปลอดภัยมากกว่า ราคาไม่เกิน 1,000 บาท)
**แปรงลวด ใช้ในการขัดทำความสะอาดแนวเชื่อม
ลองเชื่อม….
**เปิดเครื่อง แล้วให้ปรับกระแสเชื่อมตามขนาดและชนิดของธูปเชื่อม
ธูปเชื่อมขนาด 2.6 mm. กระแสไฟ 70-100A
ธูปเชื่อมขนาด 3.2 mm. กระแสไฟ 110-140A
(ความเป็นจริง สามารถสลับขั้วเชื่อมกันได้ ไม่มีผลต่อตัวเครื่อง แต่ส่งงานที่ตัวชิ้นงานหรือรอยเชื่อมที่ต้องการเชื่อม)
-งานที่มีความหนา เสียบสายเชื่อมเข้ากับขั้ว – / เสียบสายดินเข้ากับขั้ว +
-งานที่มีความบาง เสียบสายเชื่อมเข้ากับขั้ว + / เสียบสายดินเข้ากับขั้ว –
**เมื่อเชื่อมแล้วเกิดรูอากาศ ให้สังเกตว่ามีการรั่วไหลของอากาศ หรือเช็คว่าชิ้นงานมีน้ำมัน,คราบเปื้อนสนิม ปนเปื้อนสิ่งอื่นๆ หรือไม่ (ควรที่จะเช็คและทำความสะอาดชิ้นงาน ก่อนทำการเชื่อมทุกครั้ง)
**เมื่อทำการเชื่อมเป็นระยะเวลานานเกินกว่ารอบที่กำหนดตู้เชื่อมจะหยุดการทำงาน เนื่องจากอุณหภูมิเครื่องร้อนเกินไป ตัวสวิทช์ควบคุมไฟ (สีเหลือง) จะเปลี่ยนเป็นไฟสีแดง (ไม่ต้องดึงปลั๊กออก ให้พัดลมระบายความร้อนออกจากเครื่อง เมื่อไฟสีแดงดับ เครื่องก็จะกลับมาทำงานปกติ)
โดยรวมการใช้งาน ตู้เชื่อม THUNDER INVERTER TD-ARC140 ถือว่าใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง สำหรับช่างเชื่อมมือใหม่ หรือ ช่างที่ใช้งานเครื่องไม่บ่อยมากนัก สมกับราคา ประสิทธิภาพของงานออกมาดีพอสมควร น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก (ไม่ควรใช้งานเครื่องเกินกำลัง เพราะนั่นคือสาเหตุที่ทำให้ตู้เชื่อมเสียแน่นอน) เราควรจัดการให้ตู้เชื่อมอยู่ในที่ร่ม และมีบริเวณกว้าง หากเก็บรักษาเครื่องดี ไม่โดนความร้อน ความชื้น ก็สามารถใช้งานได้อีกนานเลยค่ะ
ข้อควรระวัง ที่ต้องรู้เกี่ยวกับตู้เชื่อม!!!
- ให้สวมใส่ถุงมือหนัง เอี้ยมหนัง เพื่อป้องกันความร้อน สะเก็ดไฟเชื่อม และรังสีจากการเชื่อม
- ใช้หน้ากากเชื่อมมองการอาร์คเชื่อมเป็นสิ่งที่ถูกต้องและจะต้องใช้ทุกครั้ง และใช้กระจก กรองแสง หน้ากากเชื่อมให้ถูกต้อง
- ใช้แปลงลวด ทำความสะอาดชิ้นงานก่อนหรือหลังเชื่อม เช่น ขัดสนิม เศษฝุ่น เศษเหล็กขนาดเล็กที่ตกค้างอยู่
- การปรับกระแสไฟเชื่อม จะต้องปิดตู้เชื่อมก่อนทุกครั้ง
- การเชื่อมให้หลีกเลี่ยงจากแสงแดด และ บริเวณที่มีความชื้น (ถ้าไม่มีการใช้งานเครื่องเป็นเวลานาน ควรเก็บในกล่องที่มิดชิดและในบริเวณที่ไม่อับชื้น)
เลือกตู้เชื่อม เลือกที่ itoolmart
เครื่องเล็ก สเปคช่างเชื่อม
ออกแบบ
ลูกเล่น
ประสิทธิภาพ
ราคา
คะแนนรวม
Reader rating
What's good
- ราคาถูก
- น้ำหนักเบา พกพาง่าย
- ติดตั้งและใช้งานง่าย
What's bad
- สเปคเครื่องสูงกว่าการใช้งานจริง
- ไม่มีจอมอนิเมอร์
- กระแสไฟน้อย หากต้องใช้งานหนัก