ความสำคัญของ หมวกนิรภัย (Safety Helmet)
หมวกนิรภัย (Safety Helmet) หลายๆคนอาจจะรู้กันอยู่แล้วว่าหมวกประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการป้องกันอันตรายในการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงที่อาจจะมีวัตถุตกกระแทกกับศรีษะได้ โดยหมวกนิระภัยก็จะจำแนกไปได้อีกหลายประเภทตามประเภทสี และวัสดุในการใช้ทำ หมวกนิรภัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต้นๆและกำลังถูกจัดให้เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในกลุ่มการป้องกันส่วนบุคคลที่กฏหมายได้ออกมารับรองและบังคับใช้คือ (Personal Protective Equipment (PPE)) มีหลากหลายรูปแบบตามงานหรือ รูปแบบงานที่ผู้ใช้ทำงานอยู่
โดยส่วนใหญ่แล้ว หมวกนิรภัย เป็นมาตรฐานสำคัญขององค์กรที่ต้องดำเนินงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรม เครื่องจักร การก่อสร้าง หรืองานเลเบอร์ต่างๆ ตัวหมวกนิรภัยถูกออกแบบมาเพื่อกระจายแรงที่มีวัตถุกระทบให้ส่งไปในบริเวณกว้างและดูดซับแรงกระแทกให้ได้รับแรงน้อยหรือเบาลง หมวกนิรภัย จะช่วยทำการลดอาการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุได้
หมวกนิรภัย มีกี่ประเภท
หมวกนิรภัย มีกี่ประเภทและสามารถจะทำการแบ่งตามการใช้งานได้แบบไหนบ้างโดยสามารถแบ่งประเภทได้ตามขอบเขตการใช้งานเช่น คุณสมบัติการป้องกันการกระแทก ป้องกันไฟฟ้า ป้องกันการเจาะ หรือกระทั่งการป้องกันสารเคมี จะมีการใช้วัสดุหรือแบบไหนได้บ้างลองไปอ่านกันดู
- ประเภทที่ 1 เป็นหมวกนิรภัยที่ใช้สำหรับการป้องกันการกระแทกที่มาจากด้านบน และไม่สามารถกันกระแทกที่มีทิศทางมาจากด้านข้างได้
- ประเภทที่ 2 เป็นหมวกเซฟตี้ที่ออกแบบมาสำหรับการป้องกันแรงกระแทกที่เข้ามาได้ทั้งด้านบนและด้านข้างได้
- ประเภท E หรือประเภท Electrical เป็นหมวกนิรภัยที่สามารถจะช่วยในการป้องกันกระแสไฟฟ้าได้ดีที่ทำมาจากวัสดุพิเศษที่สามารถจะป้องกันกระแสไฟฟ้าที่สูงถึง 20,000 โวลต์ ที่ความถี่ 50 Hz เป็นเวลา 3 นาที เหมาะกับการทำงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้า
- ประเภท G หรือประเภทของ General เป็นหมวกประเภทที่สามารถช่วยในการป้องกันแรงกระแทกได้ดีระดับหนึ่ง และยังมีความสามารถในการป้องกันไฟฟ้าได้ปานกลาง โดยจะอยู่ที่ประมาณ 2,200 โวลต์ที่ความถี่ 50 Hz เป็นเวลา 1 นาที จากการทดสอบมาตรฐานการกันไฟฟ้าเหมาะสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป
- ประเภท C หรือที่รูจักในชื่อของ Conductive หมวกประเภทนี้มีคุณสมบัติในการป้องกันแรงกระแทกได้ในระดับหนึ่ง และไม่มีความสามารถในการป้องกันไฟฟ้าได้เลย และไม่ได้มีการทดสอบการป้องกันก่อนการวางจำหน่าย มีส่วนผสมของ อลูมิเนียม หรือโลหะ
วัสดุที่นิยมใช้ทำหมวกนิรภัย
วัสดุในการใช้ทำหมวกเซฟตี้ที่มักจะใช้ในการทำหมวกที่ได้มาตรฐานมีกี่ประเภทและแต่ละประเภทมีคุณสมบัติการใช้งานในด้านไหนได้บ้าง
- PE (Polyethylene) วัสดุเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติคือ มีความเหนียว สามารถยืดหยุ่นได้ดี ทนทาน มีน้ำหนักเบา มีความทนทานต่อกรดและสารเคมีและด่างอ่อน ๆ ไม่ทนต่อความร้อนและน้ำมันที่อุณหภูมิที่สูง
- PP (Polypropylene) พลาสติกแบบหนึ่ง คุณสมบัติหลัก ๆ คือ มีความเหนียว สามารถจะยืดหยุ่นได้ดี มีความทนทานกว่า ชนิด PE สามารถทนต่อความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง และมีอายุการใช้งานนานกว่า
- HDPE (High Density Polyethylene) คุณสมบัติที่สำคัญคือ เป็นหมวกเซฟตี้ที่มีความเหนียวและทนทาน เหมาะกับงานก่อสร้าง งานเกี่ยวกับเคมี งานสำหรับที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า
- ABS (Acrylonitrile butadiene styrene) คุณสมบัติหลัก ๆ ของพลาสติกชนิดนี้มีความคงทนแข็งแรง สามารถกันแรงกระแทกได้ดี ไม่เป็นรอยง่าย มีคุณสมบัติไม่นำไฟฟ้า และสามารถทนต่อไฟฟ้าได้สูง สามารถกันสารเคมี กรด น้ำมัน กรดไฮโดรลิก
- FRP (Fiberglass reinforced plastic) เป็นวัสดุที่ทำมาจากไฟเบอร์กลาสมีคุณสมบัติเด่น ๆ มีน้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทานมาก ๆ (ทนทานกว่าแบบพลาสติก) สามารถทนความร้อนที่อุณหภูมิได้สูงถึง 500℃ และกันสารเคมี กรด น้ำมัน และยังสามารถรีไซเคิลได้ เหมาะสำหรับโรงผลิตเหล๊ก อุตสาหกรรมน้ำมัน และงานมี่ต้องทนต่อการแผ่รังสีของความร้อน
มาตรฐานความปลอดภัยของ หมวกนิรภัย
หมวกนิรภัยที่มีหลากหลายประเภทที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้นก็ผ่านเกณฑ์การทดสอบมาไม่เหมือนกัน แต่ละประเภทก็ทดสอบด้วยปัจจัยที่ต่างกัน โดยมาตรฐานมีทั้งหมด 5 มาตรฐานคือ Osha Standard, Ansi/Isea Z89.1 stamdard, En Standard, CSA Z94.1 Stardard และ มอก. ส่วนที่มักจะพบเห็นได้ในปัจจุบันมากที่สุดคือ ANSI ที่ได้รับความยอมรับทั่วโลกโดยการทดสอบชนิดนี้จะมีอะไรบ้าง
-
- การทดสอบการกันกระแทก (Force Transmission) หมวกนิรภัยที่เข้าการทดสอบนี้จะถูกทดสอบด้วย การทำการกระแทกที่สภาพอากาศลักษณะต่างๆ แบ่งเป็นสภาพอากาศเย็น 12 ประเภท และร้อนอีก 12 ประเภท ด้วยวัตถุหนัก 3.6 กิโลกรัมด้วยความเร็ว 5.5 เมตร/นาที
- (APEX Penetration) การทดสอบการเจาะ ด้วยหมวกที่จะต้องทนต่อการเจาะ โดยใช้วัตถุน้ำหนัก 1 กิโลกรัม และจะมีขอบเขตการเจาะที่ 75 มม. จากตรงกึ่งกลางของหมวก หวมกนิรภัยจะต้องไม่ทะลุหรือมีเศษชิ้นส่วนแตกกระเด็นออกมา
- คุณสมบัติการทนความร้อน (Flammability) หมวกนิรภัยที่จะเข้าทดสอบนี้จะได้รับความร้อนโดยตรงเป็นเวลา 5 วินาที ที่อุณหภูมิ 800-900ºC หมวกจะต้องไม่มีรอยไหม้หรือหลอมละลายระหว่างการทดสอบ
- (Electrical insulation) คุณสมบัติการป้องกันกระแสไฟฟ้า หมวกนิรภัยจะถูกทดสอบด้านการป้องกันกระแสไฟฟ้าโดยการทดสอบการต้านทานที่ ใช้ไฟฟ้า 20,000 โวลต์เป็นระยะเวลา 3 นาทีและจะต้องไม่เกิดการรั่วไหลของไฟฟ้าเข้าไปภายในด้านในของหมวก
เช็คราคา หมวกนิรภัย ได้ที่นี่
สีต่าง ๆ ของ หมวกนิรภัย ใช้สำหรับงานแบบไหน
- สีขาว สำหรับวิศวกร/ผู้บริหาร/หัวหน้างาน/ผู้เชี่ยวชาญ
- สีเหลือง สำหรับพนักงานทั่วไป แรงงานทั่วไป
- สีเขียว ใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
- สีฟ้า งานสำหรับช่างประปาดูแลระบบท่อ
- สีน้ำเงิน สำหรับเจ้าหน้าที่เทคนิคและด้านอื่น ๆ
- สีแดงและสีส้ม สำหรับงานที่คนต้องทำเกี่ยวกับความร้อน
วิธีการบำรุงรักษาหมวกนิรภัย
การบำรุงรักษาหมวกนิรภัยเป็นส่วนสำคัญสำหรับการยืดระยะเวลาการใช้งานของหมวกนิรภัยในกรณีที่ต้องการทำความสะอาดสามารถใช้น้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจานได้ในกรณีที่มีคราบสกปรกติดอยู่มาก ๆ และควรถอดอุปกรณ์รองใน ออกก่อนทำความสะอาดและทำความสะอาดชุดรองข้างในไปพร้อมกันด้วย และไม่ควรใช้สารเคมีหรือสารจำพวกตัวทำลายที่มีฤทธิ์กัดกร่อนมาใช้ทำความสะอาดหมวกและชุดรองใน
การเก็บรักษาควรเก็บหมวกนิรภัยไว้ในที่ร่มไม่โดนความร้อนหรือแสงแดดหลักนานจนเกินไป เพราะแสงแดดและอุณหภูมิสูงจะทำให้โมเลกุลหลักของพลาสติกเกิดการเสื่อมสภาพทำให้หมวกขาดความยืดหยุ่นและไม่แข็งแรงพอจะใช้งานได้แล้ว ประเภทของ ABS พลาสติก โดยปกติแล้วจะมีอายุการใช้งานได้นานกว่าพลาสติกชนิดอื่น ๆ ที่นำมาใช้เป็นวสดุทำหมวกนิรภัย ก่อนการใช้งานหมวกควรตรวจสอบดูสภาพของหมวกก่อนนำไปใช้งาน ว่ามีรอยร้าว รอยแตก รอยถลอก ออกมาใช้งานเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง
หากว่ามีการใช้หมวกนิรภัยต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น Earmuff หรือ Face Shield ควรต่อให้ได้ระดับที่เหมาะสมและปลอดภัยเพื่อป้องกันอันตรายระหว่างการใช้งาน ควรทำความสะอาดหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อเสร็จจากการใช้งาน สุดท้ายนี้การเลือกหมวกนิรภัยที่ดีต้องคำนึงถึงงานที่ทำว่ามีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการหรือไม่ และควรจะสวมหมวกนิรภัยทุก ๆ ครั้งที่ต้องทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความสูญเสีย
บทความอื่น ๆ : เหล็กส่ง แต่ละประเภทมีการใช้งานอย่างไร?