Smile
"ถ้าไม่คิดจะเริ่ม ก็เหมือนเดิมทั้งชีวิต" "ไม่มีอะไรยากกว่าความสามารถ ถ้าไม่คิดที่จะเรียนรู้"
ปัญหาการขาดแคลนน้ำพบได้บ่อยในประเทศไทยปัจจุบัน เพราะการเปลี่ยนแปลงที่ภูมิอากาศและปัญหาโลกร้อนที่มีผลกระทบทำให้ฝนตกน้อย หรืออากาศเปลี่ยนแปลงที่น้ำขาดแคลน ทำให้ ปั๊มน้ำ มีความสำคัญ ช่วยให้แก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยปั๊มน้ำจากบาดาลมาใช้ได้ง่าย แม้ในพื้นที่ชุมชนหรือการเกษตร ซึ่งปั๊มน้ำที่พบเห็นได้ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆ คือปั๊มอัตโนมัติ ปั๊มกึ่งอัตโนมัติ ปั๊มหอยโข่ง และปั๊มจุ่มหรือปั๊มแช่ ซึ่งโดยแต่ละปั๊มมีความแตกต่างกันตามปริมาณน้ำที่ได้จากการปั๊มและแรงของปั๊ม และปั๊มใดเหมาะกับแบบใดบ้าง
ในตลาดหรือร้านขายปั๊มน้ำต่างๆ จะเห็นได้ว่ามีปั๊มน้ำให้เลือกมากมายหลายแบบ แต่แบบไหนบ้างที่เหมาะกับความต้องการที่เราจะนำไปใช้ ถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่ามีปั๊มหลายแบบให้เลือกทั้งปั๊มอัตโนมัติ ปั๊มแช่ ปั๊มบาดาลและอื่นๆ ดูกันเลยว่าปั๊มแบบไหนเหมาะกับการใช้งานแบบไหน เพราะแต่ละแบบมีลักษณะเด่นของการปั๊มที่แตกต่างกันตามการใช้งาน
ปั๊มที่ใช้ในบ้านเพื่อการบริโภคน้ำในชีวิตประจำวัน ปั๊มเหล่านี้มีอัตราการไหลน้อยกว่าและใช้พลังงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับปั๊มที่ใช้สำหรับทางการเกษตรเนื่องจากต้องสูบในพื้นที่ขนาดเล็ก
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ เป็นปั๊มที่นิยมใช้กับบ้าน หรือพื้นที่อยู่อาศัยมากที่สุด เนื่องจากมีความสะดวกของการใช้งาน โดยปั๊มน้ำอัตโนมัติใช้มอเตอร์เป็นแหล่งจ่ายไฟ การใช้งานเพียงแค่เสียบปลั๊กปั๊มน้ำ เมื่อเปิดก๊อกน้ำ หรือใช้งานน้ำปั๊มจะปั๊มน้ำอัตโนมัติ โดยปั๊มอัตโนมัติยังแบบได้ 2 ประเภทคือ ปั๊มถังกลม,ถังเหลี่ยม ซึ่ง 2 ปั๊มต่างกันตรงการสร้างแรงดันของปั๊มน้ำ
ปั๊มน้ำกึ่งอัตโนมัติ คือ การทำงานคล้ายกับปั๊มน้ำอัตโนมัติแต่จะมีสวิตซ์ปิด – เปิดการใช้งานปั๊ม แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ปั๊มน้ำอัตโนมัติเลย
เครื่องสูบน้ำการเกษตรเป็นเครื่องช่วยประหยัดในพื้นที่ชนบทเนื่องจากปั๊มน้ำจำเป็นสำหรับการผลิตพืชที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเลือกปั๊มที่ถูกต้อง
ปั๊มหอยโข่งแบบล่อน้ำด้วยตัวเอง (Self-Prime Regenerative Pumps) ปั๊มหอยโข่งแบบล่อน้ำด้วยตัวเอง เป็นปั๊มในซีรี่ย์ของปั๊มหอยโข่งแต่มีความแตกต่างจากปั๊มหอยโข่งธรรมดา คือตัวปั๊มสามารถล่อน้ำเองได้ โดยมีใบพัดติดตั้งอยู่ด้านในของปั๊ม ทำงานโดยหมุนคล้ายวงแหวนในรอบๆปั๊ม น้ำจะไม่ไหลออกจากปลายใบพัดและหมุนเวียนไปด้านล่างสำหรับการสำรองน้ำทำงานครั้งต่อไปและไหลพร้อมกับจ่ายทำงาน การทำงานในลักษณะหมุนเวียนน้ำภายในปั๊มหอยโข่งเรียกว่า re-primes
ปั๊มหอยโข่งแบบล่อน้ำด้วยตัวเอง เหมาะกับการปั๊มน้ำจืด หรือไม่มีสารเคมีปะปนในน้ำ หรือเหมาะสำหรับการปั๊มจ่ายน้ำให้ที่อยู่อาศัย บ้าน โดยปั๊มหอยโข่งแบบล่อน้ำด้วยตัวเอง มีระบบกำจัดอากาศที่อยู่ในท่อหรือ ภายในปั๊ม จึงพบปัญหาน้อย ใช้งานง่าย รักษาง่าย
ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pumps) ปั๊มหอยโข่งที่สามารถใช้กับที่พักอาศัย หรือบ้านได้มีอยู่ 2 แบบ คือปั๊มหอยโข่งแบบธรรมดา และปั๊มหอยโข่งแบบเจ็ท โดยปั๊มหอยโข่งแบบธรรมดา มีการทำงานโดยได้รับพลังงานมาจากมอเตอร์ทำให้ปั๊มทำงานเกิดแรงดูด และทำให้ใบพัดหมุน ใบพัดจะสร้างแรงเหวี่ยงให้น้ำและควบคุมอัตราการไหลของน้ำ ส่วนปั๊มหอยโข่งแบบเจ็ทนั้น มีความแตกต่างจากปั๊มหอยโข่งแบบธรรมดาคือ พลังงานการดูดของน้ำจากบาดาล หรือก็คือ ปั๊มหอยโข่งแบบเจ็ทมีพลังการดูดน้ำมากกว่า ปั๊มหอยโข่งแบบธรรมดา ปั๊มหอยโข่งทั้ง 2 แบบ คือปั๊มหอยโข่งแบบธรรมดา และปั๊มหอยโข่งแบบเจ็ท เหมาะกับการใช้ปั๊มน้ำจืด ที่ไม่มีการผสมผสานของสารเคมี ใช้ได้กับปั๊มน้ำบ้าน ที่พักอาศัย พื้นที่การเกษตรต่างๆ หรือสำหรับเติมน้ำในสระน้ำ ปั๊มหอยโข่งแบบธรรมดา และปั๊มหอยโข่งแบบเจ็ท มีพลังการดูดน้ำมากกว่า ปั๊มหอยโข่งแบบล่อน้ำด้วยตัวเอง โดยปั๊มหอยโข่งแบบธรรมดา และปั๊มหอยโข่งแบบเจ็ท มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่า และอัตราน้ำไหลที่สูงกว่า
ปั๊มจุ่ม (Submersible Pumps) เป็นปั๊มที่ใช้งานในลักษณะจุ่ม แช่ปั๊มลงไปในน้ำหรือบ่อบาดาล ปั๊มจุ่มที่ใช้สำหรับบ้าน ที่พักอาศัย ตัวเครื่องจะมีขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย เพียงแค่นำปั๊มจุ่ม หรือแช่ลงน้ำและเสียบปลั๊กหรือเปิดสวิตซ์ทำงานสำหรับปั๊มที่ใช้แบตเตอรี่ ก็สามารถใช้งานปั๊มได้เลย ส่วนปั๊มจุ่มอีกแบบหรือปั๊มบาดาล ปั๊มจะมีโครงสร้างที่ปิดสนิท รองประกบจะน้อยมาก ปั๊มจุ่มสามารถเรียกได้หลายชื่อทั้ง ปั๊มบาดาล ปั๊มแช่ หรือปั๊มจุ่ม โดยปั๊มจุ่มมักนิยมใช้สำหรับขุดท่อบาดาล โดยปั๊มจุ่มมีหลายขนาด การเลือกขนาดของปั๊มจุ่มจำเป็นต้องรู้ขนาดท่อบ่อน้ำบาดาลในประเทศไทย นิยมขุดเจาะท่อ 3 ขนาด คือ ขนาด 4, 5, 6 นิ้ว ปั๊มจุ่มแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ปั๊มจุ่มสำหรับน้ำสะอาด และ ความแตกต่างของปั๊มทั้ง 2 คือ
ปั๊มน้ำเครื่องยนต์ เป็นปั๊มหอยโข่งต่อเข้ากับเครื่องยนต์เบนซิน หรือดีเซล แต่การต่อเข้ากับเครื่องยนต์มักนิยมเครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะ ทำให้มีกำลังแรงดูดน้ำที่สูง ส่งผลให้แรงดูดปั๊มน้ำสูบ โดยการซื้อหรือเลือกใช้งานปั๊มน้ำเครื่องยนต์จำเป็นต้องซื้อปั๊มหอยโข่งและเครื่องยนต์เพื่อการใช้งาน การใช้งานก็เติมน้ำมันเชื้อเพลิงและทำงานดึงสายเครื่องยนต์แต่ก่อนหน้านั้นจะต้องล่อน้ำปั๊มหอยโข่งก่อน แล้วค่อยทำการดึงสตาร์ท เครื่องยนต์จะเป็นตัวสร้างแรงดันดูดน้ำขึ้นมาจากใต้พื้นดิน และเชื่อมเข้ากับใบพัดหมุนทำงาน เหวี่ยงให้เกิดกระแสน้ำและจ่ายน้ำ มักนิยมใช้กับการเกษตร สวน ไร่ต่างๆ ตัวเครื่องใช้งานง่ายไม่ต้องต่อเข้ากับไฟฟ้า
TOOLTALKING คือพื้นที่ในการให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆรวมไปถึงการ แก้ปัญหา การซ่อมแซม และ การรีวิวเครื่องมืออย่างตรงไปตรงมา เราคิดว่าการทำความเข้าใจเครื่องมือให้ถูกต้องก่อนการใช้งานจะนำประโยชน์มาให้กับทุกคน และเรายังเชื่อด้วยว่าเครื่องมือคือกระจกสะท้อนความก้าวหน้าของมนุษย์ หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์จากพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ที่เป็นพื้นที่สาธารณะที่สร้างไว้สำหรับทุกคน สุดท้ายหวังว่าทุกคนจะรักเครื่องมือเหมือนกับที่เรารัก ขอบคุณครับ "sirotmusic"