เครื่องปั่นไฟและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

3

ความต้องการ เครื่องปั่นไฟ ในปัจจุบัน

สังคมในปัจจุบันไฟฟ้าถือว่ามีความสำคัญที่ช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย และจำนวนความต้องไฟฟ้าเพิ่มสูงมากขึ้น ทำให้เกิดไฟดับหรือไฟฟ้าไม่เพียงพอในการใช้งาน เครื่องปั่นไฟจึงมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยผลิตกระแสไฟหรือไฟฟ้าสำรอง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล อุตสาหกรรม หรือโทรศัทพ์ เครื่องปั่นไฟที่เห็นอยู่ตามท้องตลาดจะมีอยู่3 แบบ คือ เบนซิน, ดีเซล และอินเวอร์เตอร์

ประเภทของเครื่องปั่นไฟ

ประเภทเครื่องปั่นไฟ

เครื่องปั่นไฟจะแบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่งในบ้านเรา(ประเทศไทย)นั้นจะนิยมกัน คือ เครื่องปั่นไฟเเบบใช้น้ำมันเบนซิน-ดีเซล เเละเครื่องปั่นไฟเเบบ invetter เป็นส่วนใหญ่ เเละเเบรนด์ที่คุ้นตากันก็มีหลายแบรนด์เช่นกัน อาทิเช่น เครื่องปั่นไฟของhonda , bento ,mkt เป็นต้น เเละทางด้านโซนยุโรปนั้นก็จะนิยม คือ เครื่องปั่นไฟที่ใช้เเบตเตอรี่เเละเครื่องปั่นไฟเเบบโซล่าเซลล์ซึ่งโซนเอเชียเราไม่รับความนิยมเพราะราคาที่สูง


เครื่องปั่นไฟเบนซิน

เครื่องปั่นไฟเบนซิน

เครื่องปั่นเครื่องยนต์เบนซินในการขับเคลื่อน เป็นเครื่องยนต์ที่รองรับการใช้งานได้ทั้ง น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล หรือเอทานอล ทั้งนี้เครื่องยนต์ในปัจจุบันได้ออกแบบให้มีการใช้เชื้อเพลิงน้อยลง  เหมาะกับการใช้งานภายในบ้าน ใช้งานเดือนละ 2-3 ครั้ง หรือวันละ 3-4 ชั่วโมง ยี่ห้อที่ได้รับความนิยมก็จะเป็น HONDA MKT BENTO WELPRO ELEMAX
ข้อดี ตัวเครื่องที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา การใช้งานที่มีความคล่องตัวสูงกว่า ราคาถูก ดูแลรักษาง่าย
ข้อเสีย เมื่อไม่ใช้งานเป็นระยะเวลานานจะสตาร์ทติดยาก 


เครื่องปั่นไฟดีเซล

เครื่องปั่นไฟ ดีเซล

เครื่องปั่นไฟเครื่องยนต์ดีเซลเป็นตัวขับเคลื่อน เหมาะกับการใช้งานที่เป็นระยะเวลานาน เช่นใช้งานหนักทุกวัน ประมาณ3 ชั่วโมงขึ้นไป เครื่องยนต์ออกแบบให้มีการเผาไหม้ได้ดีขึ้น ยี่ห้อที่ได้รับความนิยม คือ MKT และ BENTO ระยะเวลาการใช้งานอยู่ได้นานกว่าเครื่องปั่นไฟเบนซิน
ข้อดี  กระแสไฟที่ได้มีความสม่ำเสมอ ราคาไม่แพง อะไหล่ในการซ่อมหาง่าย ตัวเครื่องมีความทนทาน
ข้อเสีย ด้วยตัวเครื่องมีที่มีขนาดใหญ่ทำให้ดูแลรักษายาก เสียงดัง ไม่เหมาะกับการทำงานที่ต้องเคลื่อนย้าย ตัวเครื่องขนาดใหญ่


เครื่องปั่นไฟอินเวอร์เตอร์

เครื่องปั่นไฟอินเวอร์เตอร์ หรือเครื่องปั่นไฟแบบพกพา 

เป็นเครื่องที่ถูกพัฒนามาจากเครื่องปั่นไฟเบนซินและดีเซล โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีระบบอินเวอร์เตอร์เข้ามาผสมผสานในเครื่องปั่นไฟ ให้มีเสียงในการทำงานที่เงียบ ประหยัดเชื้อเพลิง พกพาได้สะดวก อีกทั้งยังผลิตกระแสไฟที่มีความสม่ำเสมอ มีหลายขนาดให้เลือกใช้งานตามขนาดการผลิตของกระไฟ

ใหญ่ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 5,000 วัตต์ขึ้นไป น้ำหนัก ประมาณ 113 กิโลกรัม
กลาง ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2,500-4,500 วัตต์ น้ำหนักประมาณ 36 กิโลกรัม
พกพา ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2,000 วัตต์ น้ำหนักประมาณ 22-27 กิโลกรัม

ข้อดี เสียงการทำงานเงียบ ตัวเครื่องกะทัดรัด  พกพาสะดวก ประหยัดเชื้อเพลิง
ข้อเสีย ไม่สามารถผลิตกระแสไฟได้มากเมื่อเทียบกับเครื่องปั่นไฟแบบทั่วไป


เครื่องปั่นไฟจากแสงอาทิตย์

เครื่องปั่นไฟพลังงานแสงอาทิตย์

เป็นเครื่องปั่นไฟที่มีการนำเอาพลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์เข้ามามีส่วนร่วม โดยดัดแปลงและเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในเครื่องปั่นไฟ แผงโซลาร์เซลล์เป็นแผงที่เปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นกระแสไฟตรง (DC) ส่งไปยังตัวควบคุมประจุไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าเข้าไปสู่แบตเตอรี่ แบตเตอรี่จะเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ไว้ เหมาะสำหรับการตั้งแคมป์หรือเป็นแหล่งพลังงานสำรองได้
ข้อดี ขนาดที่พกพาได้สะดวก เก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ ไม่จำเป็นต้องมีเชื้อเพลิง
ข้อเสีย ราคาที่สูง เวลาในการใช้งานที่จำกัด


เครื่องปั่นไฟแบบ แบตเตอรี่

เครื่องปั่นไฟแบตเตอรี่

เป็นเครื่องที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น กระแสไฟที่ได้จะมีความบริสุทธิ์ เพราะแบตเตอรี่ผ่านการประจุไฟฟ้ามา ทำให้มีขั้นตอนมากขึ้น เป็นที่นิยมในโซนยุโรป พบเห็นได้ตามเภสัชกรรม ศูนย์จัดเก็บข้อมูล ตู้เย็นวัคซีน หรือพื้นที่ที่ไม่สามารถขาดไฟได้เลย
ข้อดี พกกาสะดวก การใช้งานง่าย มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย
ข้อเสีย มีราคาที่สูง เวลาช้งานมีจำกัด


ประโยชน์ของเครื่องปั่นไฟ

เมื่อพูดถึงเครื่องปั่นไฟหลายๆคนคงรู้จักเครื่องปั่นไฟคือเครื่องที่ผลิตกระแสไฟเพื่อนำกระแสไฟนั้นมาใช้งานต่างๆ แต่สำหรับอีกบางคนคงเคยรู้จักหรือได้ยินแต่ไม่เคยเห็นหน้าตาของเครื่องปั่นไฟจริงๆ เครื่องปั่นไฟหรือที่เรรารู้จักอีกชื่อหนึ่งคือ เครื่องกำเนิดไฟ มักพบเห็นเป็นส่วนมากในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือพื้นที่ต่างจังหวัดที่ห่างไกล โดยเครื่องปั่นไฟจะมีความสำคัญเป็นอย่างมาให้การผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ในปัจจุบันอาจพบเห็นเครื่องปั่นไฟน้อยลงเพราะมีการใช้งานพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น 

เครื่องปั่นไฟที่เราเคยเห็นและพบเจอมาจะมีเชื้อเพลิงหลักที่ทำให้เครื่องปั่นไฟทำงาน คือน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซล ต้องคำนึงถึงราคาต้นทุนและความแปรผันของราคาน้ำมันของตลาด ทำให้เครื่องปั่นไฟเกิดการพัฒนาให้ใช้เชื้อเพลิงที่น้อยลงเช่น เครื่องปั่นไฟอินเวอร์เตอร์ ที่มีระบบการทำงานที่เงียบ ไม่เป็นมลพิษต่ออากาศ และใช้เชื้อเพลิงที่น้อยทำให้ประหยัดเชื้อเพลิง

เมื่อไฟดับการมีไฟสำรองถือว่าเป็นเรื่องความสำคัญ เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล อุตสาหกรรม หรือสถานีโทรศัทพ์ วิทยุ เครื่องปั่นไฟจึงมีเพราะป้องกันเหตุเกิดที่ไม่ขาดคิดเพราะในสังคมปัจจุบันไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มนุษย์ให้ความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต


องค์ประกอบของเครื่องปั่นไฟ

องค์ประกอบของเครื่องปั่นไฟ

องค์ประกอบของเครื่องปั่นไฟ

องค์ประกอบของเครื่องปั่นไฟ

องค์ประกอบของเครื่องปั่นไฟ

องค์ประกอบของเครื่องปั่นไฟ

องค์ประกอบของเครื่องปั่นไฟ

โดยโครงสร้างของเครื่องปั่นไฟเบนซินและดีเซล หลักๆที่เราเห็นก็จะมี
เครื่องยนต์ จะทำหน้าที่อัดอากาศกับเชื้อเพลิงผสมกัน ทำหให้เกิดอากาศ
ไดนาโม ทำหน้าที่เป็นพลังงานที่ได้จากเครื่องยนต์คือพลังงานกลและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
โครงเครื่อง เป็นฐานและป้องกันตัวเครื่องอีกทั้งยังช่วยในเรื่องจับยก ยก ย้ายอีกด้วย
ตัวกรอง ทำหน้าที่กรองอากาศที่จะเข้าไปเครื่องยนต์ให้มีความสะอาด
ฝาครอบ เป็นส่วนที่ให้การทำงานของเราสะดวกมากขึ้นและป้องกันตัวเครื่อง


เครื่องปั่นไฟ แต่ละเครื่องให้กระแสไฟที่ต่างกันโดยมีการให้กระแสไฟเป็นหน่วยวัตต์

คุณต้องการเครื่องปั่นไฟขนาดเท่าไหร่?
การที่คุณตั้งข้อสงสัยนั้นเป็นความคิดที่ดีมากๆ ซึ่งหลายคนก็ยังไม่รู้เหมือนกัน  เครื่องปั่นไฟฟ้ามีขนาดเล็กจนไปถึงใหญ่ มีความแตกต่างกันไปตั้งแต่หน่วยกำลังไฟฟ้า 1800 วัตต์ไปจนถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้งบ้านที่สามารถผลิตได้ 20,000 วัตต์ขึ้นไป ราคาก็แตกต่างกันไปเช่นกัน ขึ้นอยู่ว่าคุณว่าต้องการใช้งานในลักษณะใดเเละค่ากำลังวัตต์นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการเลือกซื้อเครื่องปั่นไฟสำหรับคุณนั่นเอง วิธีเลือกเครื่องปั่นไฟให้ตรงกับการใช้งานของคุณ

ยกตัวอย่างเครื่องปั่นไฟ  2,000 วัตต์
เครื่องปั่นไฟนี้มีขนาดเล็ก มาพร้อมกับราคาที่ถูกที่สุดเหมือนกัน  เหมาะใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กๆ เช่น  พัดลม ตู้เย็น เเละสำหรับการพกพาไปนอกสถานที่และตั้งแคมป์  เครื่องนี้ใช้งานได้ไม่ทั่วถึงเพราะกำลังวัตต์ที่น้อยการใช้งานมีขีดจำกัด เช่น  ถ้าคุณนำเครื่องตัดไฟเบอร์มาใช้งาน ซึ่งมีกำลังไฟที่ 2200 watt อาจไม่สามารถทำงานได้ เพราะค่าเกินกว่าสเปคเครื่องปั่นไฟของคุณกำหนดไว้

ยกตัวอย่างเครื่องปั่นไฟ  5,000 วัตต์
เป็นเครื่องปั่นไฟที่นิยมมาก พบได้มากที่สุดในไซต์งาน เหมาะสำหรับการใช้งานเครื่องมือไฟฟ้าหลายชนิดไปพร้อมๆกัน เช่น คุณสามารถใช้เครื่องเจียรที่มีกำลังไฟ 1000วัตต์ ทำงานพร้อมกับไฟพัดลม 74 วัตต์ ได้อย่างสบายเเละสามารถใช้เครื่องมืออื่นได้อีกตามกำลังที่ทำได้

ยกตัวอย่างเครื่องปั่นไฟ  7,000 วัตต์
ถ้าคุณต้องการที่จะได้เครื่องปั่นไฟที่มีกำลังไฟที่เพิ่มขึ้นนั้น คุณก็ต้องเเลกมาด้วยน้ำหนักที่มากขึ้นเช่นกัน จึงทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย  เเต่จะทำให้คุณสามารถใช้งานเครื่องมือต่างๆที่คุณมีในไซต์งานทั้งหมดพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน

ยกตัวอย่างเครื่องปั่นไฟ  10,000 วัตต์
เครื่องปั่นไฟที่มีกำลังวัตต์ที่มากก็ต้องเเลกมาหลายอย่างเหมือนกัน ไม่ว่าได้เรื่องของราคาที่สูงเกือบหลายเท่าตัว เเละเรื่องของน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าคุณไม่กังวลเรื่องเหล่านี้ คุณสามารถใช้งานตามไซต์งานที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่หรือแม้แต่บ้านหลังเล็ก ๆ ได้อย่างดี  ศึกษาเพิ่มเติมว่า ทำไมต้องสำรองไฟทั้งบ้านด้วยเครื่องปั่นไฟ

เครื่องปั่นไฟ แต่ละเครื่องให้กระแสไฟที่ต่างกันโดยมีการให้กระแสไฟเป็นหน่วยวัตต์


Tip

คุณต้องการเครื่องปั่นไฟขนาดใดกัน!! มาคุยเรื่องตัวเลขของค่ากำลังวัตต์ที่ใช้งานได้จริง

อย่างที่คุณรู้ว่าทุกคนมีความแตกต่างกันในเรื่องของการใช้งาน มาดูสิ่งที่คุณต้องคำนวณ ขั้นตอนนี้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้วัตต์ที่คุณต้องการเพื่อใช้เครื่องมือทุกอย่างพร้อมกันและรวมวัตต์เริ่มต้นของเครื่องมือที่กินไฟมากที่สุด
สมมติว่าคุณมีเลื่อยวงเดือนกับเลื่อยโต๊ะและเครื่องตัดไฟเบอร์พร้อมกับเครื่องชาร์จแบตเตอรี่สำหรับเครื่องมือไร้สายของคุณ

เครื่องมือช่าง เช่น
เลื่อยวงเดือน – กำลังทำงาน 1800 วัตต์ , วัตต์เริ่มต้น 3200 วัตต์
โต๊ะเลื่อย – กำลังทำงาน 1800 วัตต์ , วัตต์เริ่มต้น  3500 วัตต์
เครื่องตัดไฟเบอร์ – กำลังทำงาน 2000 วัตต์ , วัตต์เริ่มต้น  3600 วัตต์(ค่ามากที่สุด)
เครื่องชาร์จแบตเตอรี่เครื่องมือไฟฟ้า – 330 วัตต์

การที่คุณใช้เครื่องมือทั้งหมดของคุณในครั้งเดียวต้องใช้ 5,930 วัตต์ แต่เครื่องตัดไฟเบอร์ของคุณมีวัตต์เริ่มต้นมากที่สุดที่ 3600 วัตต์ เมื่อพิจารณาคุณต้องเพิ่มกำลังไฟของคุณขึ้น 1600 วัตต์ เป็น 7530 วัตต์คุณต้องเลือกเครื่องปั่นไฟฟ้าที่มีกำลังไฟอย่างน้อย 7500 วัตต์ขึ้นไป(ใช้เครื่องมือพร้อมกันในเวลาเดียวกัน)

หากคุณใช้เครื่องมือเพียงชิ้นเดียวในแต่ละครั้งคุณสามารถลดลงเหลือหน่วยค่าไฟถึง 4000 วัตต์
คุณไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องปั่นไฟที่มากถึง7500 วัตต์ ก็ได้

คำนวณวัตต์เครื่องปั่นไฟ

คำนวณวัตต์เครื่องปั่นไฟ

***คุณสามารถใช้สูตรเดียวกันนี้เพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใดสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสำหรับการทำงานที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงในสถานที่นั้นๆ

ค่ากระแสไฟฟ้าของเครื่องปั่นไฟ


หลักการในการใช้งานเครื่องปั่นไฟ

อ่านคำแนะนำหรือคู่มือ
หากไม่เคยใช้เครื่องปั่นไฟมาก่อนแนะนำให้อ่านและหาข้อมูลการความปลอดภัยและก่อนใช้งาน มาให้เข้าใจได้รู้วิธีการใช้งานเครื่องอย่างปลอดภัย

อ่านคู่มือเครื่องปั่นไฟ

อ่านคู่มือเครื่องปั่นไฟ

หาที่ตั้งเครื่องปั่นไฟ
ให้วางเครื่องปั่นไฟให้ห่างจากสิ่งอื่นโดยประมาณ 1 เมตร เครื่องปั่นไฟจะร้อนเสียงดัง มีควันยิ่งเป็นเครื่องดีเซลแล้วจะทำให้เกิดอันตรายกับคนในบ้านได้ 

หาที่ตั้งเครื่องปั่นไฟ

หาที่ตั้งเครื่องปั่นไฟ

เช็คน้ำมันเครื่อง
หากเป็นเครื่องใหม่แกะกล่องให้เช็คก่อนเพราะโดยปกติแล้วหากผู้ผลิตจะไม่ได้เติมน้ำมันมาให้หากลืมเติมจะทำให้เครื่องเสียและเกิดอาการเครื่องน็อกได้
ในการเติมให้เติมในปริมาตรตามข้อมือหากน้อยหรือมากไปก็ทำให้เครื่องเสียได้

เช็คน้ำมันเครื่องปั่นไฟ

เช็คน้ำมันเครื่องปั่นไฟ

เติมน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิงต้องเช็คก่อนว่าเป็นเครื่องเบนซินหรือดีเซล เติมน้ำมันชนิดไหนได้ชนิดไหนไม่ได้

เติมน้ำมันเครื่องปั่นไฟ

เติมน้ำมันเครื่องปั่นไฟ

สวิทช์หรือเบรกเกอร์ไฟ
ก่อนสตาร์ทหรือดับเครื่องเช็คสวิตช์เบรกเกอร์ไฟฟ้าให้อยู่ตำแหน่ง “ปิด ก่อนเสมอเพื่อความปลอดภัยป้องกันไฟลัดวงจรหรือไฟช็อตได้

เปิดสวิตท์เบรกเกอร์เครื่องปั่นไฟ

เปิดสวิตท์เบรกเกอร์เครื่องปั่นไฟ

เปิดวาล์วน้ำมัน
เปิดวาล์วน้ำมันเชื้อ เพื่อให้น้ำมันไหลผ่านคาร์บูเรเตอร์ลองทำงาน แต่ไม่ควรเปิดทิ้งไว้ในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน

เปิดวาว์ลน้ำมันเครื่องปั่นไฟ

เปิดวาว์ลน้ำมันเครื่องปั่นไฟ

ดึงโช๊คน้ำมัน
ในกรณีที่เราได้รับเครื่องใหม่แกะกล่องให้ดึงโช๊คก่อนเพื่อให้เครื่องสตาร์ทติดง่ายถ้าหากเราไม่ได้ดึงเครื่องอาจจะติดยากหรือไม่ติดเลย

เปิดโช๊คน้ำเครื่องปั่นไฟ

เปิดโช๊คน้ำเครื่องปั่นไฟ

เปิดสวิตช์start
หากเป็นรุ่นที่สตาร์ทด้วยกุญแจตัวนี้สตาร์ทได้เลยแต่หากถ้าเป็นรุ่นที่ไม่มียังเป็นดึงสตาร์ทแบบธรรมดาให้ดึงสายตึงมือก่อนกระชาก หลังจากเครื่องติดแล้วให้รออุณหภูมิเครื่องได้ก่อนซัก 3-5 นาที

เปิดสวิตช์เครื่องปั่นไฟ

เปิดสวิตช์เครื่องปั่นไฟ

เสียบปลั๊กใช้งาน
หลังจากที่อุ่นเครื่องกันแล้วก่อนที่เราจะใช้งานเสียบปลั๊กกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ให้คำนวณกำลังวัตต์สเครื่องใช้ไฟฟ้าว่าเกินกำลังวัตต์ของเครื่องปั่นไฟหรือเปล่าหากเกินก็จะทำให้เครื่องดับ จะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องลดลง 

เสียบปลั๊กพวงเครื่องปั่นไฟ

เสียบปลั๊กพวงเครื่องปั่นไฟ

การดับเครื่อง
ก่อนดับเครื่องปิดสวิตช์ปล่อยไฟฟ้า ถอดปลั๊กให้เรียบร้อยจากนั้นก็ปิดสวิตช์ดับเครื่อง

ดับเครื่องปั่นไฟ

ดับเครื่องปั่นไฟ

ถ่ายเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
ปล่อยให้เครื่องเย็นเสร็จแล้วก็หาแกลลอนหรืออุปกรณ์เก็บน้ำมันมาถ่ายน้ำมันใส่เก็บเข้าที่เดิมแล้วปิดวาล์วน้ำมัน 

ถ่่ายเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องปั่นไฟ

ถ่ายเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องปั่นไฟ

เช็คสภาพเครื่องปั่นไฟ
หลังจากใช้งานเสร็จแล้วก็ให้เช็คสภาพของเครื่องปั่นไฟให้เรียบร้อย เช่นน็อตทุกตัวแน่นหรือเปล่าสายอะไรหลุดไหม

เช็คน็อตเครื่องปั่นไฟ

เช็คน็อตเครื่องปั่นไฟ


วิธีบำรุงรักษา

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
แนะนำศึกษาคู่มือดูปริมาตรน้ำมันเครื่องก่อนว่าต้องเท่าไหร่กี่ลิตร  ถ้าหากเราเติมเยอะหรือน้อยเกินไปจะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องปั่นไฟน้อยลง
ระยะเวลาในการถ่ายน้ำมันเครื่องในแต่ครั้งหากได้ใช้บ่อย ใช่ทุกวันก็ถ่าย 2-3เดือนครั้งหนึ่ง ถ้านานๆใช้ก็ไม่เกิน 6 เดือนควรเปลี่ยน หรือ ทุก500ชั่วโมง

ถ่ายน้ำเครื่องปั่นไฟ

ถ่ายน้ำเครื่องปั่นไฟ

ทำความสะอาดไส้กรองอากาศ
ทำความสะอาดไส้กรองทุกๆ 6 เดือน
วิธีทำความสะอาดให้แกะออกมาเคาะฝุ่นออกให้หมดหรือถ้ามีเครื่องเป่าลมก็ให้ใช้เครื่องเป่าลมเป่าฝุ่นออก

กรองอากาศเครื่องปั่นไฟ

กรองอากาศเครื่องปั่นไฟ

เช็คสภาพน็อตทุกตัวก่อนใช้งาน
เช็คความแน่นหนาของน็อตทุกตัว การทำงานของเครื่องยนต์จะทำให้เกิดการสั่นตามแรงของเครื่องยนต์จึงทำให้น็อตหลุดหลวมหรือเสื่อมสภาพ หากพบว่ามีการชำรุดให้ซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนทันที

เช็คน็อตเครื่องปั่นไฟ

เช็คน็อตเครื่องปั่นไฟ

 เช็คสายไฟขั้วแบต
น็อตยึดสายไฟขั้วแบตเตอรี่ให้แน่นอยู่เสมอ

เช็คสายไฟขั้นแบตเตอรี่

เช็คสายไฟขั้นแบตเตอรี่

ดึงสายสตาร์ทให้ตึงมือก่อนกระตุกหรือกระชาก
ในการสตาร์ท ในแต่ละครั้งแนะนำดึงสายตึงมือให้ตัวกระเดื่องเกาะสตาร์ท แล้วค่อยกระชากป้องกันตัวกระเดื่องเกาะสึกหรอเสื่อมสภาพเร็ว จะช่วยให้ชุดสตาร์ทมีอายุการใช้งานยาวขึ้น

การดึงสายสตาร์ทเครื่องปั่นไฟ

การดึงสายสตาร์ทเครื่องปั่นไฟ

ถ่ายน้ำมันออกจากถัง
ถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากถังให้หมดหากคิดว่าจะไม่ได้ใช้เวลานานนับเดือน น้ำเมันเบนชีนจะเสื่อมสภาพเร็วกว่าน้ำมันชนิดอื่น ด้วยที่เป็นเครื่องใช้น้ำมันเบนชินหากทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเป็นเวลานานจะทำใช้งานครั้งต่อไปจะสตาร์ทติดไดยากและให้ตัวถังเกิดสนิมได้ง่าย 

ถ่ายน้ำมันออกจากถึง

ถ่ายน้ำมันออกจากถึง

เป่าฝุ่นเช็ดทำความสะอาดตัวเครื่องหลังใช้งานเสร็จ
เวลาเราใช้ครั้งต่อไปจะได้สะดวกเครื่องใหม่เอี่ยมตลอดและทำให้อายุการใช้งานยาวขึ้น

เช็ดทำความสะอาดเครื่องปั่นไฟ

เช็ดทำความสะอาดเครื่องปั่นไฟ


Tip

ในการสตาร์ทเครื่องแต่ละครั้งเราจะมีการดึงโช๊คก่อนเสมอ
ดึงโช๊คหลังจะใช้ในกรณีที่เครื่องสตาร์ทไม่ติดหรือเครื่องเย็น ให้เราดึงโช๊คในตำแหน่งที่ปิดคาบูหากสตาร์ทเครื่องติดแล้วก็ให้ดันโช๊คไปที่ตำแหน่งเปิดเหมือนเดิม

เปิดโช๊คน้ำมันเครื่องปั่นไฟ

เปิดโช๊คน้ำมันเครื่องปั่นไฟ

สตาร์ทไม่ติดให้เช็คหัวเทียน
เช็คหัวเทียนเราจะเช็คในเวลาที่เครื่องสตาร์ทไม่ติดหรือไม่มีท่าทีว่าจะติดเลยให้ใช้บล็อกหัวเทียนที่แถมมากับตัวเครื่องถอดหัวเทียนออกหากมีน้ำมันติดก็ให้เช็ดให้แห้งจากนั้นก็ให้น้ำหัวเทียนต่อกับขั้วสายไฟเหมือนเดิมแล้วนำตัวหัวเทียนไปจี้กับตรงรูเกียวแล้วก็ดึงสตาร์ทซ้ำๆว่าในขณะที่เราดึงสตาร์ทมีไฟติดหรือมีไฟแลบตรงหัวเทียนหรือไม่ หากมีไฟหัวเทียนปกติ หากไม่มีแสดงว่าหัวเทียนบอดหรือเสีย ในกรณีนี้แนะนำให้เปลี่ยน

ถอดหัวเทียนเครื่องปั่นไฟ

ถอดหัวเทียนเครื่องปั่นไฟ

ปลั๊กหัวกลมสามารถเสียบกับตัวเครื่องปั่นไฟได้เลย
ตัวเครื่องปั่นไฟจะสังเกตเห็นได้ว่าขั้วปลั๊กที่ติดกับเครื่องจะเป็นแบบกลมและมี adapter หัวปลั๊กมาให้แต่เราสามารถใช้ปลั๊กทั่วไปที่เป็นหัวกลมเสียบได้เลยโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนหัวปลั๊ก

หัวปลั๊กเครื่องปั่นไฟ

หัวปลั๊กเครื่องปั่นไฟ

ปิดวาว์ลน้ำมันหลังจากที่เสร็จงาน
หลังจากที่ใช้งานเสร็จแล้วน้ำมันเชื้อเพลิงยังเหลือในถังให้แนะนำปิดวาว์ลน้ำมันก่อนแล้วรอเครื่องดับเองวิธีนี้จะช่วยให้ใช้งานครั้งต่อไปเครื่องสตาร์ทติดง่ายเหมือนเดิม

ปิดวาว์ลน้ำมันเครื่องปั่นไฟ

ปิดวาว์ลน้ำมันเครื่องปั่นไฟ


คำเตือนในการใช้งานเครื่องปั่นไฟ

ซื้อเครื่องปั่นไฟในวัตต์ที่เหมาะสมหรือกำลังไฟเพียงพอต่อการใช้งาน
ก่อนจะซื้อแต่ละเครื่องควรศึกษาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราจะนำไปใช้กับเครื่องปั่นไฟละเอียด ให้ดูพวกกำลังวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าซื้อหากจะใช้ด้วยกันหลายตัวให้นำกำลังวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดรวมกันแล้วไม่เกินกำลังของเครื่องหรือถ้าจะให้ดีควันไม่เกิน 80% ของกำลังวัตต์ของเครื่องปั่นไฟ

ซื้อเครื่องปั่นไฟในวัตต์ที่เหมาะสมหรือกำลังไฟเพียงพอต่อการใช้งาน

ซื้อเครื่องปั่นไฟในวัตต์ที่เหมาะสมหรือกำลังไฟเพียงพอต่อการใช้งาน


ห้ามใช้เครื่องปั่นไฟในอาคาร
เครื่องปั่นไฟจะเป็นประเภทเครื่องยนต์สามารถผลิตควันและก๊าซคาร์มอนนอกไซด์ เมื่อควันและก๊าซพวกนี้ลอยอยู่ในอากาศที่ไม่สามารถถ่ายเทได้จะเป็นอันตรายต่อคนในบ้านหรือในอาคาร ดังนั้นควรวางเครื่องปั่นไฟไว้นอกอาคารหรือห่างจากตัวอาคารโดยประมาณ 5 – 6 เมตร

ห้ามใช้เครื่องปั่นไฟในอาคาร

ห้ามใช้เครื่องปั่นไฟในอาคาร


ไม่ควรใช้งานเครื่องปั่นไฟขณะฝนตกหรือเปียก
เครื่องปั่นไฟเป็นเครื่องผลิตไฟฟ้าหากใช้ในขณะที่ฝนตกหรือพื้นเปียกอาจเป็นอันตรายได้

ไม่ควรใช้งานเครื่องปั่นไฟขณะฝนตกหรือเปียก

ไม่ควรใช้งานเครื่องปั่นไฟขณะฝนตกหรือเปียก


ไม่ควรต่อเครื่องปั่นไฟเข้าระบบไฟบ้านโดยตรง
การต่อเครื่องปั่นไฟเข้ากับระบบไฟบ้านข้อนี้ต้องมีความชำนาญ ทำระบบรองรับไว้แล้วเท่านั้นหากยังไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียดไม่ควรต่อเข้าครับระบบไฟบ้านโดยตรงเพราะอาจเกิดกระแสไฟย้อนกลับ เรียกว่า “การป้อนกลับ”

ไม่ควรต่อเครื่องปั่นไฟเข้าระบบไฟบ้านโดยตรง

ไม่ควรต่อเครื่องปั่นไฟเข้าระบบไฟบ้านโดยตรง


จัดเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
ใช้ภาชนะบรรจุน้ำมันที่รองรับ และไว้ในที่แห้งห่างจากบ้านหรือวัสดุไวไฟ แหล่งเชื้อเพลิงอื่นๆ

 จัดเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง

จัดเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง



About author

Your email address will not be published. Required fields are marked *